วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 (The eight classes)



การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม

        เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-เกิดผลดีในระยะยาว
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน 

(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
-เครื่องโอภา (Communication Devices)
-โปรแกรมปราศรัย







การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข


2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเองเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด

-การกินอยู่ 

-การเข้าห้องน้ำ 

-การแต่งตัว 

-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน





4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียนการช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นจัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-อยากสำรวจ อยากทดลองการวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม



ประเมิน

- อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ
สอนเนื้อหาได้ครบถ้วน มีกิจกรรมให้ทำเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น

- เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย
ตอบคำถามครูได้ชัดเจนเเละเพื่อนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

-ตัวเอง

 เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น