บันทึกการเรียนครั้งที่
7 (The seven classes)
การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular
Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special
Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ
Mainstreaming)
การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive
Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้
และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม
กับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก
และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก
จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
Wilson , 2007
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน
(Inclusion) เป็นหลัก
การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ
โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้
ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า
การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
การวินิจฉัย
หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
พ่อแม่ของเด็กพิเศษ
มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
กี่ครั้งในแต่ละวัน
กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก
เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ
เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
กิจกรรมที่ทำในห้อง
วาดภาพดอกบัวตามสิ่งที่เราเห็นเเละอธิบายภาพดอกบัว
ซึ่งกิจกรรมนี้เปรียบเหมือนการที่เรามองเด็กพิเศษว่าเรามองเด็กอย่างไร
เห็นอะไรในตัวเด็ก
ประเมิน
-
อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ
สอนเนื้อหาได้ครบถ้วน
มีกิจกรรมให้ทำเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
-
เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย
ตอบคำถามครูได้ชัดเจนเเละเพื่อนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
-ตัวเอง
เข้าเรียนตรงเวลา
เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น