วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 (The three classes)

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางปัญญาเรียกโดยทั่วๆไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
คือเด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา   มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

ลักษณะเด็กปัญญาเลิศ
พัฒนาการทางด้านร่างกายจิตใจสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน
เรียนรู้สิ่งต่างๆได้รวดเร็วและง่ายดาย
อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ฯลฯ




2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5.เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7.เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8.เด็กออทิสติก
9.เด็กพิการซ้อน



1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
จะมีสองกลุ่ม  คิอ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้  มีความสามารถในการเรียนแต่จะช้า
มีระดับสติปัญญา IQ 71-90
เด็กปัญญาอ่อน  ระดับสติปัญญาต่ำ พัฒนาการล่าช้าไม่สมวัย อาการแสดงก่อนอายุ 18
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งออกตามระดับสติปัญญาเป็น 4กลุ่ม
1.ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  IQ ต่ำกว่า 20
2.ปัญญาอ่อนขนาดหนัก   IQ 20-34
3.ปัญญาอ่อน ปานกลาง  IQ34-49
4.ปัญญาอ่อนขนาดน้อย   IQ50-70




ดาวน์ซินโดม สาเหตุ ความผิดปกติของโคมโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง




2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.              เด็กหูตึง  เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับรู้ข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
2.             เด็กหูหนวก เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน


3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
จำแนกได้ 2ประเภท คือ เด็กตาบอดและเด็กตาบอดไม่สนิท
   1.เด็กตาบอด  ไม่สามารถมองเห็นได้เลย ต้องใช้การสัมผัสในการเรียนรู้

    2.เด็กตาบอดไม่สนิท  มองเห็นบ้างแต่ไม่เท่าเด็กปกติ ลานสายตาอยู่ประมาณ ไม่เกิน 30 องศา


ประเมิน
-อาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  ให้คำปรึกษากับเรื่องการเรียน สอนได้เข้าใจในเนื้อหา

-เพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตอบคำถามเมื่อครูถามอย่างชัดเจน

-ตัวเอง

เเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟัง


วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559




บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 (The two classes)





เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Early childhood with special needs)
มีความหมายแบ่งออกเป็น รูปแบบ

1.ความหมายทางการแพทย์ 
มักเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการ”  หมายถึงเด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ
อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

2.ความหมายทางการศึกษา
เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล

พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ
-การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
-ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทาพัฒนาการ
1.พันธุกรรม
2.โรคระบบประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8.สาเหตุอื่นๆ


ประเมิน
-อาจารย์
เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ ให้ความรู้อย่างละเอียดชัดเจน

-เพื่อน
แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูให้ความรู้

-ตัวเอง

แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559



บันทึกการการเรียนครั้งที่ 1 (The first class)


กิจกรรม
-ปฐมนิเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอน
-เนื้อหาที่เรียนในเทอมนี้
-พรีเทสก่อนเข้าสู่บทเรียน

-ทำแบบบันทึกการเรียนการสอน เกี่ยวกับบล็อก







ประเมิน
-อาจารย์ผู้สอน
เข้าสอนตรงเวลา แจ้งรายละเอียดในรายวิชาอย่างชัดเจน

-เพื่อนในชั้นเรียน
เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงตามเวลา แสดงความคิดเห็นเเละตอบคำถามครู
ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

-ตัวเอง
เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม