วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันที่ ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559




บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 (The five classes)


เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 
(Children with Learning Disabilities)

เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
สาเหตุของ LD
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)

-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน
(Reading Disorder)
-หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
 -ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน
(Writing Disorder)
-เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
-เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
-เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

3. ด้านการคิดคำนวณ
(Mathematic ตัวเลขผิดลำดับ
-ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
-ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้Disorder)

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน                                       
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
-งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
-การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
-สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
-เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
-ทำงานช้า

7. ออทิสติก (Autistic)
หรือ ออทิซึ่ม (Autism)

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 





ลักษณะของเด็กออทิสติก
-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
 -ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก
องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
-พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

พฤติกรมการทำซ้ำ
-นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
-นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
-วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
-ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม


Autistic Savant
-กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
-กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)





ประเมิน
-อาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  ให้คำปรึกษากับเรื่องการเรียน สอนได้เข้าใจในเนื้อหา

-เพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตอบคำถามเมื่อครูถามอย่างชัดเจน

-ตัวเอง

เเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟัง



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 (The   four classes)


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
3.ความบกพร่องของเสียงพูด

ความบกพร่องทางความบกพร่องทางภาษา
1.พัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
-เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
-มีปัญหาทางระบบประสาท
-มีความลำบากในการเคลื่อนไหว



โรคลมชัก (Epilepsy)
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
-ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
-ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
-ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ




ซี.พี. (Cerebral Palsy)
-การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
-การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน

1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
(athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
โปลิโอ (Poliomyelitis)

แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)




ประเมิน
-อาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  ให้คำปรึกษากับเรื่องการเรียน สอนได้เข้าใจในเนื้อหา

-เพื่อน
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย  ตอบคำถามเมื่อครูถามอย่างชัดเจน

-ตัวเอง

เเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจฟัง